องค์การบริหารส่วนตำบลหินดาด

  • องค์การบริหารส่วนตำบลหินดาด
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหินดาด
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหินดาด
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหินดาด
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหินดาด





สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

 
ข้อมูลสภาพทั่วไปของพื้นที่
ด้านกายภาพ
1.  ที่ตั้งของหมู่บ้าน/ชุมชน/ตำบล
                ตำบลหินดาด เป็น 1  ใน 10 ตำบลของอำเภอห้วย ตำบลหินดาด ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของที่ว่าการอำเภอห้วยแถลง  ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลอยู่ห่างจากอำเภอห้วยแถลง  10   กิโลเมตร  แต่เดิมนั้นมีชื่อว่า  “หินดาษ” เกิดขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2460 เมื่อการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการก่อสร้างทางรถไฟสายโคราช-อุบลฯ การสร้างรถไฟเมื่อมาถึงกิโลเมตรที่ 317 การขุดพื้นที่บริเวณดังกล่าวจะพบแผ่นดินดาน (สีแดง) โดยทั่วไปเต็มบริเวณ  จึงใช้ชื่อสถานีรถไฟดังกล่าวว่า “สถานีหินดาษ” ภายหลังคำดังกล่าวเขียนเพี้ยนไปเป็นคำว่า “หินดาด”ซึ่งใช้ ด. เป็นตัวสะกด คำที่ถูกต้อง ปรากฏอยู่ ณ ป้ายชื่อสถานีรถไฟที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน เมื่อเกิดสถานีรถไฟแล้วบริเวณด้านหน้าสถานีรถไฟเป็นแหล่งขนถ่ายสินค้าและแหล่งการค้าที่สำคัญ จึงมีประชาชนอพยพถิ่นฐานมาทำกินจากที่ต่างๆ เช่น อำเภอพิมาย อำเภอจักราช อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และอำเภออื่นๆเป็นต้นชุมชนหินดาด เมื่อมีหลายหมู่บ้านและได้รับการจัดตั้งเป็นตำบลแล้วขึ้นการปกครองของอำเภอพิมาย ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2504 จึงได้จัดตั้งอำเภอห้วยแถลง  ตำบลหินดาด และได้เปลี่ยนแปลงมาขึ้นอยู่ในการปกครอง ของอำเภอห้วยแถลง  เป็นต้นมา“องค์การบริหารส่วนตำบลหินดาด” ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2540  ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย  ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 25 ธันวาคม  2539  และใช้เป็นศูนย์กลางการพัฒนาในเขตตำบลหินดาด โทร 044-950470  โทรสาร 044-950470
 
 

ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลหลุ่งประดู่ อำเภอห้วยแถลง  จังหวัดนครราชสีมา
ทิศใต้  ติดต่อกับ    ตำบลเสาเดียว อำเภอหนองหงส์      จังหวัดบุรีรัมย์
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลห้วยแถลง อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ  ตำบลหินโคน          อำเภอจักราช   จังหวัดนครราชสีมา

                                       
                                 
2..  ลักษณะภูมิประเทศ  ตำบลหินดาดมีสภาพภูมิประเทศของพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง 52% เป็นที่ลุ่ม 48% ไม่มีภูเขา เป็นพื้นที่แห้งแล้ง อยู่ในเขตอับฝน ลักษณะดิน เป็นดินร่วนปนทราย บางพื้นที่เป็นกรด ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง มีลำห้วยแต่มีสภาพพื้นที่ตื้นเขิน ขาดแหล่งน้ำที่เก็บกักน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมจึงอาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว
 
 

3.  ลักษณะภูมิอากาศ  ดูฝนจะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเรื่อยไปจนถึงปลายเดือนตุลาคม ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนมกราคม  ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน อากาศเริ่มอบอ้าว ในเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงประมาณปลายเดือนเมษายน และเดือนพฤษภาคมอาจจะมีฝนเริ่มตกลงมา
        

4.  ลักษณะของดิน  ภูมิประเทศส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นที่ราบสูง ลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย  ซึ่งพื้นที่เหล่านี้จะพบในบริเวณทั่วไปของจังหวัดนครราชสีมามีความอุดมสมบูรณ์อยู่ในระดับปานกลาง  
 
 
5.  ลักษณะของแหล่งน้ำ  ลำห้วยฉมวกและลำห้วยยาง  อยู่ด้านทิศตะวันตกของตำบลหินดาดซึ่งติดต่อกับเขตตำบลหินโคน เป็นแนวเขตธรรมชาติ  ตำบลหินดาด มีแหล่งน้ำลำห้วยที่สำคัญดังนี้
 
 

ลำดับที่ ชื่อลำห้วย  สถานที่ตั้ง
1 ลำห้วยยาง บ้านห้วยยาง
2 ลำห้วยยาง บ้านสระมะค่า
3 ลำห้วยฉมวก บ้านตะคร้อเหนือ
4 ลำห้วยฉมวก บ้านตะคร้อใต้
5 ลำห้วยฉมวก บ้านหนองม่วง
6 ลำห้วยฉมวก บ้านโคกสะอาด
7 ลำห้วยลูกฟ้า บ้านปรางค์


             
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น   ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน  2559 (ที่มากองช่าง)

- ฝายน้ำล้น 13 แห่ง
- บ่อน้ำตื้น 12 แห่ง
- ประปา 10 แห่ง
- อ่างเก็บน้ำ -   แห่ง